เปลี่ยนเป็นภาษาไทย

Change to English
 แสดงรายละเอียดบรรณานุกรม
  กลับหน้าหลัก

Marc Display : E-mail record : QR code ปิดหน้าต่าง
E-books : เกี่ยวกับ Collections
 ผู้แต่ง  รัตนา พันจุย
 ชื่อเรื่อง 
ผลของโปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มต่อความสามารถในการเผชิญปัญหาของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน / รัตนา พันจุย = The Effect of groupcounseling on coping ability in caregivers ofschizophrenic patients in community / Rattana Punjuy
 ชื่อเรื่องที่แตกต่าง  Effect of group counseling on coping ability in caregiversof schizophrenic patients in community
 พิมพ์ลักษณ์  2555
 เลขเรียก  วพ WM430 ร375ผ 2555
 ลักษณะทางกายภาพ  ก-ฌ, 166 แผ่น
 หมายเหตุ  วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
 หมายเหตุ  Summary: การวิจัยแบบกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มต่อความสามารถในการเผชิญปัญหาของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนโดยใช้แนวคิดการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มของ Mahler (1969)เป็นแนวทางในการดำเนินกิจกรรมเพื่อส่งเสริมและพัฒนาความสามารถในการเผชิญปัญหาของผู้ดูแล กลุ่มตัวอย่างคือผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนในเขตสำนักงานสาธารณสุขอำเภอตาพระยาจังหวัดสระแก้ว โดยจับคู่ด้านเพศ อายุ และระยะเวลาการดูแลผู้ป่วยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละจำนวน 20 คนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติกลุ่มทดลองได้รับการดูแลตามโปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม ซึ่งประกอบด้วย4 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นการก่อตั้งกลุ่ม 2) ขั้นการเปลี่ยนลักษณะของกลุ่ม 3)ขั้นการดำเนินงาน และ 4) ขั้นยุติการให้คำปรึกษาซึ่งได้รับการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่านเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและแบบประเมินความสามารถในการเผชิญปัญหามีค่าความเที่ยง .91วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายและการทดสอบค่าทีผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1.ค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถในการเผชิญปัญหาของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน หลังได้รับโปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม (X-bar = 2.60, SD =0.12, ระดับดี) สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม (X-bar= 0.79, SD = 0.29, ระดับไม่ดี) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) 2.ค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถในการเผชิญปัญหาของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม (X-bar = 2.60, SD =0.12, ระดับดี) สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ (X-bar = 1.80,SD = 0.41, ระดับพอใช้) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05)
 หัวเรื่อง  Schizophrenics--Care
 หัวเรื่อง  Adjustment ‪(Psychology)‬
 หัวเรื่อง  Group counseling
 หัวเรื่อง  ผู้ป่วยจิตเภท--การดูแล
 หัวเรื่อง  การปรับตัว (จิตวิทยา)
 หัวเรื่อง  การให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม
 ผู้แต่งร่วม  Rattana Punjuy
 ผู้แต่งร่วม  อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย, ที่ปรึกษา
 ผู้แต่งร่วม  รัตน์ศิริ ทาโต, ที่ปรึกษาร่วม
 ผู้แต่งนิติบุคคล  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
 เชื่อมโยง  วิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม (Full Text)
รายการนี้ยังไม่มีแท็ก
คุณยังไม่ได้ล็อกอิน คุณสามารถมีกิจกรรมร่วมกับเว็บไซต์ได้ แต่ต้องล็อกอินก่อน ::
  ล็อกอิน
5655
ไม่มีไอเทมให้บริการ
ไม่มีไอเทมให้บริการ
รายการใกล้เคียง
    หัวเรื่อง [Group counseling]
    หัวเรื่อง [การปรับตัว (จิตวิทยา)]
    หัวเรื่อง [การให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม]

BibComment


ยังไม่เคยถูกคอมเมนท์

คอมเมนท์ทรัพยากรรายการนี้
  คอมเมนท์: ผลของโปรแกรมการใ..
Bib 13607

 
 
 

 Union Library Management : ULibM
Copyright 2024. All Rights Reserved.